สำนวนคำ หมายถึง คำกล่าวที่คล้องจอง แต่ไม่ได้มุ่งที่จะสั่งสอน เช่น
” ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง ” หมายถึง ความสวยงามเกิดขึ้นได้จากการปรุงแต่ง
” ยื่นหมู ยื่นแมว “ หมายถึง ส่งสิ่งของแต่ละฝ่ายแลกเปลี่ยนพร้อม ๆ กันในเวลาเดียวกัน
” ยุให้รำตำให้รั่ว “ หมายถึง ยุแหย่ให้ผิดใจกัน
” ปล้ำผีลุก ปลุกผีนั่ง ” หมายถึง พยายามทำให้เกิดเรื่องราวที่ไม่ดีขึ้นมา
” เอามือซุกหีบ , แกว่งเท้าหาเสี้ยน “ หมายถึง หาเรื่องเดือดร้อน หรือความยุ่งยากให้ตัวเองโดยใช่ที่
” จับปลาสองมือ “ หมายถึง ชายหรือหญิงที่มีใจไม่แน่นอนว่าจะเลือกรักใครจริง
แต่ปัจจุบัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานรวมเรียกคำสุภาษิต คำพังเพย และสำนวนคำว่า ” สำนวน ”
สำนวนไทย มีที่มาจากวรรณคดีก็มีมาก เช่น จากเรื่องรามเกียรติ์
– พระรามเดินดง – จองถนน – กล่องดวงใจ
– ยักษ์ลักมาลิงพาไป – สิบแปดมงกุฎ – หนุมานคลุกฝุ่น
– งอมพระราม – ลูกทรพี – วัดรอยเท้า
แต่ละสำนวนมีเรื่องราวดังตัวอย่างสำนวนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องบทพากย์รามเกียรติ์ ตอนนางลอย เช่น
พระรามเดินดง , งอมพระราม สำนวนนี้มีความหมายว่า ลำบากตรากตรำทุกข์ยากเป็นเวลานาน เนื่องจากพระราม
ต้องออกไปเดินป่าตามบัญชาของท้าวทศรถผู้เป็นพระราชบิดาเป็นเวลานาน ๑๔ ปี ได้รับความทุกข์เพราะต้องจากบ้านเมือง
และพลัดพรากจากนางสีดาผู้เป็นชายา ต้องทำศึกกับทศกัณฐ์และพวกพ้องอย่างหนัก แต่ในที่สุดก็ชนะศึกและพานางสีดากลับ
กรุงอโธยา เพื่อทำพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองสืบไป
จองถนน สำนวนนี้หมายความว่า เตรียมแผนการรุกล้ำที่ของผู้อื่น หรือหมายถึง ทำวางโตเป็นใหญ่ คำว่า ” จอง ” หมายถึง ” ผูกสร้าง ” เพราะฉะนั้น จองถนนก็คือ สร้างถนน พระรามได้ยกไพร่พลลิงติดตามหานางสีดาไปถึงฝั่ง
มหาสมุทรตรงข้ามกรุงลงกาอันเป็นบ้านเมืองของทศกัณฐ์ ที่ซึ่งทศกัณฐ์นำนางสีดาไปกักขังไว้ แต่พระรามข้ามไปไม่ได้ จึงเกณฑ์ไพร่พลลิงให้นำหินมาถมทะเล เพื่อทำเป็นถนนข้ามไปกรุงลงกา
ตัวอย่างสำนวนไทยที่กล่าวเกี่ยวกับเรื่องของช้างก็มี เช่น
– ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง ทำงานใหญ่เกินตัวแต่ได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า
– ฆ่าช้างเอางา หมายถึง การลงทุนเพื่อผลประโยชน์ที่ไม่คุ้มค่า
– อ้อยเข้าปากช้าง หมายถึง สูญไป ไม่มีทางได้คืนมา
– เห็นช้างเท่าหนู หมายถึง ไม่เกรงกลัว ไม่มีสติยั้งคิด
- Posted in: เกร็ดความรู้